Blog

ขับขี่ปลอดภัยช่วงหน้าฝน

ช่วงนี้บ้านเราก็เข้าสู่ฤดูฝนกันแล้ว ชาวสองล้อทั้งหลายก็คงมีเรื่องให้หนักใจกันไปตามๆกัน เพราะคงไม่มีชาวไบค์เกอร์คนไหนที่ชื่นชอบฤดูฝนกันนัก ไม่ว่าจะตกนิดหน่อย ไปจนกระทั่งตกหนักน้ำท่วม ซึ่งจะส่งผลต่อทัศนวิสัยการขับขี่ รวมถึงอุปสรรคต่างๆ นาๆ ที่จะเข้ามารบกวนการขับขี่ของเราๆให้ลำบากมากยิ่งขึ้น  มาพบกับวิธีรับมือสำหรับการขับขี่รถจักรยานยนต์ในหน้าฝนกัน ซึ่งอันที่จริงแล้วเราก็สามารถป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ด้วยการเตรียมพร้อมทั้งทางร่างกายและมอไซค์คู่ใจของเรา ซึ่งจุดเล็กๆน้อยๆทั้งหลายอาจจะทำให้เราพลาดได้โดยไม่รู้ตัว ส่วนจะมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลยครับ 

รายการตรวจเช็ค

สภาพของปัญหา

วิธีการแก้ปัญหา

น้ำมันเครื่อง

-ระดับน้ำมันเครื่องไม่ถูกต้อง

-น้ำมันเครื่องสกปรก / เสื่อมสภาพ

-น้ำมันเครื่องเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น(น้ำปนเปื้อนในน้ำมันเครื่อง)

-ระดับน้ำมันเครื่องลดลงเร็วมาก

-ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง / ปรับแก้ไขให้ถูกต้อง

-ตรวจสอบอายุการใช้งาน สีและสภาพของน้ำมันเครื่อง / เปลี่ยน

-ตรวจหารอยรั่วหรือหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขจุดที่รั่ว ล้างภายในเครื่องยนต์และเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

-ตรวจหารอยรั่วซึม / แก้ไข หรือกรณีเครื่องยนต์หลวม ให้ช่างแก้ไขเครื่องยนต์ใหม่

ระบบเบรค

-เบรคลื่น (เบรคไม่อยู่)

-เบรคค้าง (เบรคไม่คืน)

-ระยะฟรีเบรคไม่ถูกต้อง

-เบรคมีเสียงดัง (ขณะเบรค)

-น้ำมันเบรคสกปรก /เปลี่ยนสี

-ตรวจการสึกหรอของผ้าเบรคและจานเบรค / แก้ไข

หรือเปลี่ยน (ถ้าจำเป็น)

-ไล่ลมเบรคใหม่ (กรณีเป็นเบรคแบบดิสเบรค)

-ตรวจสอบสภาพผ้าเบรค สปริงเบรคและกลไก

เบรค / แก้ไขหรือเปลี่ยนถ้าจำเป็น

-ตรวจเช็ค / ปรับตั้งใหม่

-ตรวจสภาพผ้าเบรค จานเบรคหรือดุมเบรค / ขัดทำ

ความสะอาด แก้ไขหรือเปลี่ยน (ถ้าจำป็น)

-เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรคใหม่

ยาง

-ยางเสื่อมสภาพ / ดอกยางเหลือน้อยหรือสึกหรอไม่สม่ำเสมอ

-แรงดันลมยางไม่ถูกต้อง (อ่อนหรือแข็งเกินไป)

-ตรวจเช็ค / เปลี่ยน

-ตรวจและเติมลมยางให้ถูกต้อง

กรองอากาศ

-สกปรก / อุดตัน / เปียกชื้น

-เสื่อมสภาพ / เปื่อยหรือฉีกขาด

-ตรวจสอบสภาพ / เปลี่ยนหรือทำความสะอาด

(เฉพาะรุ่นที่ไส้กรองไม่เคลือบสารเคมี ส่วนรุ่นที่

เคลือบสารเคมีไม่ต้องทำความสะอาด กรณี

สกปรกหรืออุดตันให้เปลี่ยนใหม่)

-ตรวจเช็คและเปลี่ยน

หัวเทียนและปลั๊กหัวเทียน

-หัวเทียนสกปรก / หัวเทียนบอด

-ระยะห่างเขี้ยวหัวเทียนไม่ถูกต้อง

-หัวเทียนเสื่อมสภาพ / ชำรุด (ฉนวน

แตกหัก เขี้ยวกร่อน คราบกำลังอัดรั่ว)

-ปลั๊กหัวเทียนเสื่อมสภาพ (เปลือก

แตกหัก ยางฉนวนเปื่อย ไฟแรงสูงรั่ว)

-ตรวจสอบ / ทำความสะอาด

-ตรวจสอบ / ปรับตั้งให้ถูกต้อง

-ตรวจสอบประกายไฟ, ตรวจสภาพภายนอก / เปลี่ยน (ถ้าจำเป็น)

-ตรวจเช็ค / เปลี่ยน

ระบบไฟแสงสว่างและไฟสัญญาณ

-วงจรไฟฟ้าขัดข้อง / ไม่ทำงาน

-สวิตช์ควบคุมวงจรชำรุด / เป็นสนิมติดขัด หน้าสัมผัสชำรุด

-ตรวจสอบวงจร / ตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์

-ตรวจสอบการทำงาน / ฉีดล้างทำความสะอาดด้วยสเปรย์ไล่ความชื้นหรือเปลี่ยน (ถ้าจำเป็น)

 ขอบคุณข้อมูลจาก bigbiketh.com